Notes the sixth time
Date 25 September 2014
Knowledge
Activity in classroom
วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้แล้วให้ตัดแบ่งกันตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ตัดกระดาษเป็นแนวยาวดังรูป
- พับครึึ่ง
- ตัดกระดาษออกครึ่งหนึ่ง (เพียงด้านเดียว) ดังรูป
- พับปลายกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาเล็กน้อย
- ใช้คลิปหนีบปลายกระดาษส่วนที่พับขึ้นมา
จากนั้นทำการทดลอง จะได้ดังนี้
สิ่งที่ประดิษฐ์ชิ้นนี้เรียนกว่า ลูกยายกระดาษ ซึ่งเกิดจากแรงต้านทาน (Resistance) และนำไปสู่การทำเครื่องบิน ถ้าตัดกระดาษเข้าไปน้อย มันก็จะไม่หมุน
จากกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory) สอดคล้องกับวิธีการ (Implement) และพัฒนาการ (Development) ของเด็ก โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
การนำเสนอบทความครั้งที่ 3
- แสงสีกับชีวิตประจำวัน - แสงในโลกเกิดจาก 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน มากระทบกับดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแสงให้ตาเรามองเห็น เช่น ใบไม้สดที่มองเห็นสีเขียวเพราะมีสารคลอโรฟิลด์ จึงสะท้อนสีเขยวออกมาให้เรามองเห็น
- เงามหัศจรรย์ต่อสมอง (ดร. วรนาท รักษ์สกุลไทย) - เงาเกี่ยวของกับการทำงานของแสง เด็กจะกลัวเงาโดยจินตนาการจากผีหรือสัตว์ประหลาด พ่อแม่มีหน้าที่พาเด็กออกไปทดลอง เช่น การวัดขนาของเงา เล่านิทานเงา เมื่อเด็กได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นจากความรู้เดิม เด็กก็จะเชื่อมโยงและสร้างองค์ความรู้ใหม่
- สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - หลักสูตรให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เด็กรักษ์ธรรมชาติ เรื่องใกล้ตัว เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ
- การทดลองวิทยาศาสตร์ (Science Experiment) - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science Skills) ดังนี้
- ทักษะการสังเกต (Observation Skills)
- ทักษะการวัด (Measurement Skills)
- ทักษะการจำแนกประเภท (Classification Skills)
- ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)
- ทักษะการลงความเห็น (Opinion Skills)
- ทักษะการพยากรณ์ (Forecast Skills)
ประโยชน์จากการทดลอง - ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีกระบวนการ
เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เราได้คิดวิเคราะห์ ทั้งยังเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้ว เพราะจะทำให้เราได้รุ้ว่าเราเข้าใจเนื้อหานั้นอย่างแท้จริงหรือไม่
การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)
จากการเรียนในวันนี้สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่เด็กสามารถทำได้ และได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
การประเมิน (Assessment)
Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ ทั้งยังร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์บางครั้งก็ถูก บางครั้งก็ผิด
Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม
Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้คำแนะนำในการนำเสนอบทความของเพื่อนๆแต่ละคน