วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Notes the seventeenth times

Notes the seventeenth times

Date 3 December 2014

Knowledge

      วันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับหน่วยที่เรียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันคือ หน่วยกบ




Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบการใช้คำถามปลายเปิด และเปิดโอกาสให้เราได้คิดเอง

Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอารูปแบบการเขียนแผ่นพับในวันนี้ไปใช้ในการทำแผ่นพับให้ผู้ปกครองในอนาคตได้

Assessment

      Me - วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายเป็นอย่างดี

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับเป็นอย่างดี



Notes the sixteenth times

Notes the sixteenth times

Date 27 November 2014

Knowledge

Present research

  • นางสาวจิตติกา จันทร์สว่าง -- งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นางสาวศิริพร โพธิสาร -- งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเรียนวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวณัฐพร ศิริตระกูล -- งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่ีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้การทดลอง
Present Teacher TV

  • นางสาวช่อผกา ปิติถาโน -- จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • นางสาวพัชราวรรณ วารี -- สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
  • นางสาววิมวิภา เลือดนักรบ -- อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุกๆ
  • นางสาวอชิรญา ไกลคำทูล -- การสอนสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
  • นางสาวพัชยา เสียงเพราะ -- เรือสะเทินน้ำสะเทินบก
  • นางสาวสุรีพร แสงลำพู -- ขวดปั้มและลิปเทียน
  • นางสาวสรัญชนา ทรงรูป -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • นางสาวสุวิมล หาดซาย -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
  • นางสาวสุจิตรา สุวรรณรัตน์ -- นม สี น้ำยาล้างจาน กับเด็กปฐมวัย
  • นางสาวปวิชญา กันทะเนตร -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทะเลฟองสีรุ้ง
  • นางสาวนิลาวัลย์ ตระกูลเจริญ -- สนุกวิทย์คิดทดลอง
  • นางสาวกัญญา แสนยามูล -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทอร์โดมหาภัย
  • นางสาวกรองกาญจน์ นิลผาย -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนความลับของใบบัว
  • นางสาวพัชริดา พุฒิธรรมพงษ์ -- การทดสอบความแข็งของวัตถุ
Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำกิจกรรมต่างๆ ในงานวิจัย และในโทรทัศน์ครู ว่าควรนำไปใช้ในช่วงใด หน่วยใด

 Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำกิจกรรม หรือการทดลองต่างๆที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการสอนเด็กในอนาคต

Assessment
      
       Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
      
      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาเรียนมีคุยกันเสียงดังบ้างบางครั้ง

      Teachers - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และแนะนำการนำกิจกรรมไปใช้เป็นอย่างดี
      

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes the fifteenth times

Notes the fifteenth times

Date 20 November 2014

Knowledge

Present Research

  • นางสาวชนากานต์ มีดวง -- งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมศิลปะ 6 กิจกรรม ดังนี้  ศิลปะย้ำ  ศิลปะปรับภาพ ศิลปะเลียนแบบ  ศิลปะถ่ายโยง  ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา
  • นางสาวสุธิดา คุณโตนด -- งานวิจัยเรื่องผลการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวธิดารัตน์ สุทธิพล -- ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวธนภรณ์ คงมนัส -- งานวจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาตร์อย่างมีแบบแผน

Activities in classroom

      วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนนำของเล่นวิทยาศาตร์มาส่งจากนั้น แยกประเภทของเล่นออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
  1. จุดศูนย์ถ่วง
  2. เสียง
  3. พลังงานลม
  4. น้ำ
  5. พลังงานสะสม
  6. มุมประสบการณ์

จากนั้นอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์ในการทำขนมวาฟเฟิล (Waffle) โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
  1. แป้งวาฟเฟิล
  2. เนย
  3. ไข่
  4. น้ำเปล่า
  5. ถ้วยผสม
  6. ช้อน
  7. เครื่องทำวาฟเฟิล
  8. มาการีน
ขั้นการทำ
  1. นำแป้งวาฟเฟิล เนย ไข่ ใใส่ลงไปในถ้วยผสม
  2. จากนั้นค่อยๆเติมน้ำ
  3. ตีส่วนผสมทั้งหมด จนเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. ทามารีนที่ตัวเครื่องทำวาฟเฟิล
  5. เทแป้งที่ผสมไว้ ใส่ตรงกลางพิม
  6. รอสักครู่จากนั้นกลับด้าน
  7. ตักใส่จานพร้อนรับประทาน


Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนองานวิจัยของเพื่อน และยกตัวอย่างการนำเอาแผนการสอนของงานวิจัยมาไปปรับใช้ และเมื่อนำเสนองานวิจัยเสร็จ อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มให้แต่ละกลุ่มทำวาฟเฟิล ซึ่งทำให้เป็นแนวทางในการสอน Cooking ต่อไปในอนาคตได้

Application

       จากการเรียนในวันนี้สามารถนำแผนการสอนจากงานวิจัยที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในได้ และสามารถนำเอาการทำวาฟเฟิลไปสอนเด็กได้ เช่น หน่วยไข่ เป็นต้น

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์ รวมถึงตั้งใจทำวาฟเฟิล

       Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนที่มีหน้าที่นำเสนองานวิจัยในสัปดาห์นี้ก็มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจจะมีเสียงบ้างเป็นบางครั้ง และท้ายคาบเพื่อนๆทุกกลุ่มก้ตั้งใจทำวาฟเฟิลเป็นอย่างดี

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เวลาเพื่อนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี และอาจารย์ก็มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำวาฟเฟิล ทำให้สนุกสนาน


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Video about Science for kids

Video about Science for kids

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เจ้ามังกรปวดฟัน


      จากวิดีโอสามารถสรุปได้ว่า เจ้ามังกร กินน้ำอัดลมเป็นจพนวนมากจึงปวดฟัน พี่บอลจึงพาเด็กๆมาทดลองโดย มีแก้วใส่น้ำมา 2 แก้ว แก้วที่ 1 ใส่น้ำเปล่า แก้วที่ 2 ใส่น้ำส้มสายชู เริ่มแรกพี่บอลให้เด็กๆดมน้ำในแก้ว แก้วที่ 1 ไม่มีกลิ่น แก้วที่ 2 มีกลิ่นเปรี้ยวคล้ายมะนาว เมื่อดมเสร็จแล้วให้เด็กๆนำเปลือไข่ใส่ลงไปในแก้วทั้งสอง ปรากฏว่าเปลือกไข่ในแก้วใบที่ 1 มีลักษณะใหญ่ขึ้น ส่วนแก้วใบที่ 2 มีฟองอากาศอยู่ที่เปลือกไข่ และเมื่อทิ้งไว้ 5 นาที เปลือกไข่ในแก้วใบที่ 1 มีลักษณะเหมือนเดิม ส่วนเปลือกไข่ในแก้วใบที่ 2 เปลื่อกใข่ลอกออก เป็นสีจางๆ ถ้าหากทิ้งไว้ 1 วันเปลือกไข่ที่อยู่ในแก้วใบที่ 1 ก็ยมีลักษณะเหมือนเดิม แต่เปลือกไข่ที่อยู่ในแก้วใบที่ 2 เปลือกไข่กลายเป็นสีขาว 
      
      เนื่องจากเมื่อน้ำส้มสายชูทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่จึงทำให้เกิดฟองอากาศและที่เปลือกไข่ละลายในน้ำส้มสายชูได้เป็นเพราะน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรด กรดนี้มีชื่อว่า "กรดแอซิติก" สามารถกัดกร่อนเปลือกไข่ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมได้ ส่วนในน้ำเปล่ามีค่าเป็นกลางจึงไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกับเปลือกไข่
      
      ฟันของเราก็ประกอบไปด้วยแคลเซียม ในช่องปากของเรายังพบกรดที่เกิดจากจุลินทรีย์นับล้านตัว จุลินทรีย์บางชนิดเรียกว่าแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ ยิ่งรับประทานของหวาน เช่น น้ำอัดลม ลูกอม มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นการเพิ่มอาหารให้กับแบคทีเรีย เป็นสาเหตุให้เราฟันผุ แบบเดียวกับการทดลองที่กรดน้ำส้มสายชูกัดกร่อนเปลือกไข่นั่นเอง


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=7wgwoLA_JG4

สรุปงานวิจัย


การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย สมคิด ศรไชย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความมุ่งหมายของวิจัย
1.            เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.            เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของการวิจัย
            ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้วิจัย
            เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง ชลบุรี

ระยะเวลาในการทดลอง
            ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ช่วงเวลา 9.00 - 9.20 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
2.การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง การรับรู้และเข้าใจของเด็กปฐมวัยที่ต้องอาศัยข้อมูล หลักการประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้หรือยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลตลอดจนการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ โดยจำแนกออกเป็น 3 ด้าน
2.1 ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้
2.2 ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
2.3 ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้
3. การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุและเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนก ด้านจัดประเภท ด้านอนุกรม ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นจากเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการทดลอง
            จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์จำแนกบอกรายละเอียดความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสำรวจ สังเกต สืบค้น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเองแล้วเด็กร่วมกันสรุป

ศึกษาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Somkid_S.pdf


Notes the fourteenth times

Notes the fourteenth times

Date 13 November 2014

Knowledge

Present research

  • นางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์ -- งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้เกมการศึกษา 4 เกม คือ เกมจับคู่ภาพเหมือน ภาพเงา สังเกตภาพเหมือน และภาพตัดต่อ
  • นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร -- งานวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการเล่านิทาน โดยใช้ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พอเล่าจบก็ทำการทดลอโดยให้เด็กพับเรือจากนั้นถามเด็กว่า ถ้านำไปลอยน้ำน้ำ เรือจะจมหรือลอย หลังจากนั้นก็ให้ใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละลูก และให้เด็กสังเกตว่าต้องใส่ลูกแก้วกี่ลูกเรือจึงจะจม
  • นางสาวนฤมล บุญคงชู -- งานวิจัยเรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวปานัดดา อ่อนนวล -- งานวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • นายธนารัตน์ วุฒิชาติ -- งานวิจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการ
  • นางสาวชนัฏฐ์นันท์ แสวงชัย -- งานวิจัยเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  • นางสาวไลลา คนรู้ -- งานวิจัยเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Teaching Methods

     วันนี้อาจารย์ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยนำกิจกรรมหรือแนการสอนตัวอย่างจากงานวิจัย มาประยุกต์และปรับปรุงเข้ากับหน่วยต่างๆที่เราจะสามารถสอนได้ในอนาคต

Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาตัวอย่างกิจกรรมจากงานวิจัยที่เพื่อนมานำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับเด็กได้

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และร้วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์และเพื่อนๆ

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนที่มีหน้าที่นำเสนองานวิจัยในสัปดาห์นี้ก็เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี อาจจะมีตกหล่นบ้างในบางประเด็น ส่วนเพื่อนคนอื่นๆที่ไม่ได้นำเสนอก็ตั้งใจฟังแต่อาจจะมีเสียงดังบ้างในบางครั้ง

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เมื่อเพื่อนนำเสนองานวิจัยจบอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในประเด็นต่างๆเป็นอย่างดี


วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes the thirteenth times

Notes the thirteenth times

Date 6 November 2014

Knowledge

       วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหน่วยต่างๆดังนี้
  1. ชนิดของกล้วย (Species of Banana)
  2. ลักษณะของไก่ (Character of Chicken)
  3. การดำรงชีวิตของกบ (Life of Frog)
  4. ประโยชน์ของปลา (Benefits of Fish)
  5. การประกอบอาหาร ข้าว (Cooking)
  6. ชนิดของต้นไม้ (Species of Tree)
  7. ลักษณะของนม (Characteristics of Milk)
  8. การดูแลรักษาน้ำ (Water Treatment)
  9. การเพาะปลูกมะพร้าว (Coconut Cultivation)
  10. การประกอบอาหาร ผลไม้ (Cooking)
โดยกลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง การดำรงชีวิจของกบ (Life of Frog) ผู้สอนคือ นางสาวจิตราภรณ์ นาคแย้ม



      ในการสอนของกลุ่มดิฉัน ใช้ Video มาเป็นขั้นนำ โดยมีการเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่วิดีโอโดยการใช้คำถามกับเด็กๆ จากนั้นเข้าสู่ขั้นสอนด้วยการทบทวนเรื่องของวิดีโอที่เด็กดู พร้อมทั้งนำรูปภาพมาให้เด็กดูและใช้คำถามกับเด็กและขั้นสรุป โดยการร่วมกันสรุปเรื่องการดำรงชีวิตของกบให้กับเด็ก


คำแนะนำหลังการสอน (Advise after teaching)

      อาจารย์แนะนำว่า การเริ่มต้นขั้นนำด้วยการใช้วิดีโอในการสอนได้ดี แต่หลังจากดูวิดีโอเสร็จการทบทวนเรื่องต่างๆในวิดีโอ ควรมีการบันทึกคำตอบที่เด็กตอบลงกระดาษ ถ้ามีคำศัพย์ที่ยากหรือเด็กยังไม่ได้ยินครูควรพูด แล้วให้เด็กพูดตาม เช่น วงจรชีวิต สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และควรตั้งคำถามให้เยอะขึ้นจากเดิมเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่เด็กได้เห็นมา
      
Teaching Methods

       อาจารย์ให้เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิด การสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้เห็นข้อผิดพลาด และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำโดยการเสนอวิธีการสอนแบบต่างๆ

Application 

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิคการสอนของเพื่อนๆไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้ และสามารถนำเอาคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ในการทำงานในภายภาคหน้าได้

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา และก็มีการเตรียมการนำเสนอการสอนของกลุ่มมาเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือขณะที่เพื่อนสอน

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจจึงทำให้เตรียมการสอนมาผิด

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอาจารย์ก้ให้คำแแนะนำหลังจากการนำเสนอการสอนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการสอนในหลายหลายเทคนิค