การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย สมคิด ศรไชย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ความมุ่งหมายของวิจัย
1.
เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.
เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดเหตุผล
รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย
ประชากรที่ใช้วิจัย
เด็กปฐมวัย
ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่
3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง ชลบุรี
ระยะเวลาในการทดลอง
ใช้เวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20
นาที ช่วงเวลา 9.00 - 9.20 น. รวมทั้งสิ้น
24 ครั้ง
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
2.การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง
การรับรู้และเข้าใจของเด็กปฐมวัยที่ต้องอาศัยข้อมูล
หลักการประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้หรือยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลตลอดจนการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้
โดยจำแนกออกเป็น 3 ด้าน
2.1 ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง
ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด
โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ
คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ
ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้
2.2 ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท
ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
2.3 ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้
3. การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง
การจัดประสบการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลอง
โดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง 5
เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุและเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ
จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนก
ด้านจัดประเภท ด้านอนุกรม ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ
เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต
การจำแนก และการสื่อสาร
โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม
เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก
การสื่อสาร แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นจากเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
ขั้นสรุป
เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก
การสื่อสาร
ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สรุปผลการทดลอง
จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์จำแนกบอกรายละเอียดความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์
รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสำรวจ
สังเกต สืบค้น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเองแล้วเด็กร่วมกันสรุป
ศึกษาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Somkid_S.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น