วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Notes the seventeenth times

Notes the seventeenth times

Date 3 December 2014

Knowledge

      วันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นพับให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับหน่วยที่เรียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันคือ หน่วยกบ




Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบการใช้คำถามปลายเปิด และเปิดโอกาสให้เราได้คิดเอง

Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอารูปแบบการเขียนแผ่นพับในวันนี้ไปใช้ในการทำแผ่นพับให้ผู้ปกครองในอนาคตได้

Assessment

      Me - วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายเป็นอย่างดี

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับเป็นอย่างดี



Notes the sixteenth times

Notes the sixteenth times

Date 27 November 2014

Knowledge

Present research

  • นางสาวจิตติกา จันทร์สว่าง -- งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • นางสาวศิริพร โพธิสาร -- งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเรียนวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวณัฐพร ศิริตระกูล -- งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่ีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้การทดลอง
Present Teacher TV

  • นางสาวช่อผกา ปิติถาโน -- จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • นางสาวพัชราวรรณ วารี -- สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
  • นางสาววิมวิภา เลือดนักรบ -- อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุกๆ
  • นางสาวอชิรญา ไกลคำทูล -- การสอนสัปดาห์วิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
  • นางสาวพัชยา เสียงเพราะ -- เรือสะเทินน้ำสะเทินบก
  • นางสาวสุรีพร แสงลำพู -- ขวดปั้มและลิปเทียน
  • นางสาวสรัญชนา ทรงรูป -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • นางสาวสุวิมล หาดซาย -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
  • นางสาวสุจิตรา สุวรรณรัตน์ -- นม สี น้ำยาล้างจาน กับเด็กปฐมวัย
  • นางสาวปวิชญา กันทะเนตร -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทะเลฟองสีรุ้ง
  • นางสาวนิลาวัลย์ ตระกูลเจริญ -- สนุกวิทย์คิดทดลอง
  • นางสาวกัญญา แสนยามูล -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนทอร์โดมหาภัย
  • นางสาวกรองกาญจน์ นิลผาย -- บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนความลับของใบบัว
  • นางสาวพัชริดา พุฒิธรรมพงษ์ -- การทดสอบความแข็งของวัตถุ
Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำกิจกรรมต่างๆ ในงานวิจัย และในโทรทัศน์ครู ว่าควรนำไปใช้ในช่วงใด หน่วยใด

 Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำกิจกรรม หรือการทดลองต่างๆที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในการสอนเด็กในอนาคต

Assessment
      
       Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
      
      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เวลาเรียนมีคุยกันเสียงดังบ้างบางครั้ง

      Teachers - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และแนะนำการนำกิจกรรมไปใช้เป็นอย่างดี
      

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes the fifteenth times

Notes the fifteenth times

Date 20 November 2014

Knowledge

Present Research

  • นางสาวชนากานต์ มีดวง -- งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมศิลปะ 6 กิจกรรม ดังนี้  ศิลปะย้ำ  ศิลปะปรับภาพ ศิลปะเลียนแบบ  ศิลปะถ่ายโยง  ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา
  • นางสาวสุธิดา คุณโตนด -- งานวิจัยเรื่องผลการบันทึกประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวธิดารัตน์ สุทธิพล -- ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวธนภรณ์ คงมนัส -- งานวจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาตร์อย่างมีแบบแผน

Activities in classroom

      วันนี้อาจารย์ให้ทุกคนนำของเล่นวิทยาศาตร์มาส่งจากนั้น แยกประเภทของเล่นออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
  1. จุดศูนย์ถ่วง
  2. เสียง
  3. พลังงานลม
  4. น้ำ
  5. พลังงานสะสม
  6. มุมประสบการณ์

จากนั้นอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์ในการทำขนมวาฟเฟิล (Waffle) โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
  1. แป้งวาฟเฟิล
  2. เนย
  3. ไข่
  4. น้ำเปล่า
  5. ถ้วยผสม
  6. ช้อน
  7. เครื่องทำวาฟเฟิล
  8. มาการีน
ขั้นการทำ
  1. นำแป้งวาฟเฟิล เนย ไข่ ใใส่ลงไปในถ้วยผสม
  2. จากนั้นค่อยๆเติมน้ำ
  3. ตีส่วนผสมทั้งหมด จนเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. ทามารีนที่ตัวเครื่องทำวาฟเฟิล
  5. เทแป้งที่ผสมไว้ ใส่ตรงกลางพิม
  6. รอสักครู่จากนั้นกลับด้าน
  7. ตักใส่จานพร้อนรับประทาน


Teaching Methods

      วันนี้อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำเสนองานวิจัยของเพื่อน และยกตัวอย่างการนำเอาแผนการสอนของงานวิจัยมาไปปรับใช้ และเมื่อนำเสนองานวิจัยเสร็จ อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มให้แต่ละกลุ่มทำวาฟเฟิล ซึ่งทำให้เป็นแนวทางในการสอน Cooking ต่อไปในอนาคตได้

Application

       จากการเรียนในวันนี้สามารถนำแผนการสอนจากงานวิจัยที่เพื่อนๆนำเสนอไปปรับใช้ในได้ และสามารถนำเอาการทำวาฟเฟิลไปสอนเด็กได้ เช่น หน่วยไข่ เป็นต้น

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์ รวมถึงตั้งใจทำวาฟเฟิล

       Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนที่มีหน้าที่นำเสนองานวิจัยในสัปดาห์นี้ก็มีการเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี เพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจจะมีเสียงบ้างเป็นบางครั้ง และท้ายคาบเพื่อนๆทุกกลุ่มก้ตั้งใจทำวาฟเฟิลเป็นอย่างดี

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เวลาเพื่อนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี และอาจารย์ก็มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาทำวาฟเฟิล ทำให้สนุกสนาน


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Video about Science for kids

Video about Science for kids

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เจ้ามังกรปวดฟัน


      จากวิดีโอสามารถสรุปได้ว่า เจ้ามังกร กินน้ำอัดลมเป็นจพนวนมากจึงปวดฟัน พี่บอลจึงพาเด็กๆมาทดลองโดย มีแก้วใส่น้ำมา 2 แก้ว แก้วที่ 1 ใส่น้ำเปล่า แก้วที่ 2 ใส่น้ำส้มสายชู เริ่มแรกพี่บอลให้เด็กๆดมน้ำในแก้ว แก้วที่ 1 ไม่มีกลิ่น แก้วที่ 2 มีกลิ่นเปรี้ยวคล้ายมะนาว เมื่อดมเสร็จแล้วให้เด็กๆนำเปลือไข่ใส่ลงไปในแก้วทั้งสอง ปรากฏว่าเปลือกไข่ในแก้วใบที่ 1 มีลักษณะใหญ่ขึ้น ส่วนแก้วใบที่ 2 มีฟองอากาศอยู่ที่เปลือกไข่ และเมื่อทิ้งไว้ 5 นาที เปลือกไข่ในแก้วใบที่ 1 มีลักษณะเหมือนเดิม ส่วนเปลือกไข่ในแก้วใบที่ 2 เปลื่อกใข่ลอกออก เป็นสีจางๆ ถ้าหากทิ้งไว้ 1 วันเปลือกไข่ที่อยู่ในแก้วใบที่ 1 ก็ยมีลักษณะเหมือนเดิม แต่เปลือกไข่ที่อยู่ในแก้วใบที่ 2 เปลือกไข่กลายเป็นสีขาว 
      
      เนื่องจากเมื่อน้ำส้มสายชูทำปฏิกิริยากับเปลือกไข่จึงทำให้เกิดฟองอากาศและที่เปลือกไข่ละลายในน้ำส้มสายชูได้เป็นเพราะน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรด กรดนี้มีชื่อว่า "กรดแอซิติก" สามารถกัดกร่อนเปลือกไข่ที่มีส่วนประกอบของแคลเซียมได้ ส่วนในน้ำเปล่ามีค่าเป็นกลางจึงไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆกับเปลือกไข่
      
      ฟันของเราก็ประกอบไปด้วยแคลเซียม ในช่องปากของเรายังพบกรดที่เกิดจากจุลินทรีย์นับล้านตัว จุลินทรีย์บางชนิดเรียกว่าแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ ยิ่งรับประทานของหวาน เช่น น้ำอัดลม ลูกอม มากเท่าไรก็ยิ่งเป็นการเพิ่มอาหารให้กับแบคทีเรีย เป็นสาเหตุให้เราฟันผุ แบบเดียวกับการทดลองที่กรดน้ำส้มสายชูกัดกร่อนเปลือกไข่นั่นเอง


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=7wgwoLA_JG4

สรุปงานวิจัย


การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย สมคิด ศรไชย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความมุ่งหมายของวิจัย
1.            เพื่อศึกษาระดับการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยโดยรวมและหลายด้านที่วัดก่อนหลังการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2.            เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

ความสำคัญของการวิจัย
            ผลของการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการคิดเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆของเด็กปฐมวัย

ประชากรที่ใช้วิจัย
            เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย เขตบางละมุง ชลบุรี

ระยะเวลาในการทดลอง
            ใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ช่วงเวลา 9.00 - 9.20 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี
2.การคิดเชิงเหตุผล หมายถึง การรับรู้และเข้าใจของเด็กปฐมวัยที่ต้องอาศัยข้อมูล หลักการประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาข้อสรุปถึงสิ่งที่ไม่เคยได้รับรู้หรือยังไม่มีประสบการณ์มาก่อนซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการคิดเชิงเหตุผลตลอดจนการหาคำตอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งและใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ โดยจำแนกออกเป็น 3 ด้าน
2.1 ด้านการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถจำแนกประเภทแยกสิ่งของออกเป็นประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมถูกต้องโดยยึด โครงสร้าง หน้าที่ รูปร่าง ลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะเป็นหลักในการเปรียบเทียบเพื่อจำแนกในการจัดกลุ่มนั้นๆ ซึ่งมีทั้งจำแนกประเภทเป็นภาษาและจำแนกประเภทเป็นตัวเลขและเป็นรูปภาพที่กำหนดให้
2.2 ด้านการจัดประเภท หมายถึง การจัดประเภท ที่เป็นแบบทดสอบที่ให้หาสิ่งที่เป็นพวกเดียวกันกับสิ่งที่กำหนดให้ที่นิยมใช้กันคือโจทย์จะกำหนดสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกันนั้นมีทั้งแบบที่เป็นภาษาและภาพ
2.3 ด้านอนุกรม หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นเหตุเป็นผลกันและให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับภาพที่กำหนดให้
3. การจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การจัดประสบการณ์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารเพื่อให้เด็กได้ใช้ประสารทสัมผัสทั้ง 5 เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุและเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของสิ่งต่างๆ จากการทดลองแล้วสรุปผลที่ได้ตามความเข้าใจของตนเองและใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดการคิดเชิงเหตุผลด้านการจำแนก ด้านจัดประเภท ด้านอนุกรม ระหว่างการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองแล้วให้เด็กคาดคะเนผลการทดลองร่วมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นตอนที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร แล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองโดยเด็กหยิบจับสัมผัสเห็นจากเปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลอง
ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลองให้เด็กได้เกิดการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ว่าเป็นไปตามคาดคะเนไว้หรือไม่โดยให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากผลการทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แบบทดสอบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย
2.แผนการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการทดลอง
            จากผลการทดลองพบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดเชิงเหตุผลหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองเด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์จำแนกบอกรายละเอียดความเหมือนความต่างของวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็กเป็นประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหวสำรวจ สังเกต สืบค้น และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งได้จากการสังเกตและประสบการณ์เดิมของเด็กเองแล้วเด็กร่วมกันสรุป

ศึกษาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Somkid_S.pdf


Notes the fourteenth times

Notes the fourteenth times

Date 13 November 2014

Knowledge

Present research

  • นางสาวกมลพรรณ แสนจันทร์ -- งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โดยใช้เกมการศึกษา 4 เกม คือ เกมจับคู่ภาพเหมือน ภาพเงา สังเกตภาพเหมือน และภาพตัดต่อ
  • นางสาวกมลกาญจน์ มินสาคร -- งานวิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการเล่านิทาน โดยใช้ทักษะการสังเกต การจำแนก และการสื่อสาร โดยเล่านิทานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ พอเล่าจบก็ทำการทดลอโดยให้เด็กพับเรือจากนั้นถามเด็กว่า ถ้านำไปลอยน้ำน้ำ เรือจะจมหรือลอย หลังจากนั้นก็ให้ใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละลูก และให้เด็กสังเกตว่าต้องใส่ลูกแก้วกี่ลูกเรือจึงจะจม
  • นางสาวนฤมล บุญคงชู -- งานวิจัยเรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • นางสาวปานัดดา อ่อนนวล -- งานวิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • นายธนารัตน์ วุฒิชาติ -- งานวิจัยเรื่องทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการ
  • นางสาวชนัฏฐ์นันท์ แสวงชัย -- งานวิจัยเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  • นางสาวไลลา คนรู้ -- งานวิจัยเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Teaching Methods

     วันนี้อาจารย์ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ โดยนำกิจกรรมหรือแนการสอนตัวอย่างจากงานวิจัย มาประยุกต์และปรับปรุงเข้ากับหน่วยต่างๆที่เราจะสามารถสอนได้ในอนาคต

Application

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาตัวอย่างกิจกรรมจากงานวิจัยที่เพื่อนมานำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับเด็กได้

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และร้วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์และเพื่อนๆ

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เพื่อนที่มีหน้าที่นำเสนองานวิจัยในสัปดาห์นี้ก็เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี อาจจะมีตกหล่นบ้างในบางประเด็น ส่วนเพื่อนคนอื่นๆที่ไม่ได้นำเสนอก็ตั้งใจฟังแต่อาจจะมีเสียงดังบ้างในบางครั้ง

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เมื่อเพื่อนนำเสนองานวิจัยจบอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในประเด็นต่างๆเป็นอย่างดี


วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes the thirteenth times

Notes the thirteenth times

Date 6 November 2014

Knowledge

       วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีหน่วยต่างๆดังนี้
  1. ชนิดของกล้วย (Species of Banana)
  2. ลักษณะของไก่ (Character of Chicken)
  3. การดำรงชีวิตของกบ (Life of Frog)
  4. ประโยชน์ของปลา (Benefits of Fish)
  5. การประกอบอาหาร ข้าว (Cooking)
  6. ชนิดของต้นไม้ (Species of Tree)
  7. ลักษณะของนม (Characteristics of Milk)
  8. การดูแลรักษาน้ำ (Water Treatment)
  9. การเพาะปลูกมะพร้าว (Coconut Cultivation)
  10. การประกอบอาหาร ผลไม้ (Cooking)
โดยกลุ่มของดิฉันสอนเรื่อง การดำรงชีวิจของกบ (Life of Frog) ผู้สอนคือ นางสาวจิตราภรณ์ นาคแย้ม



      ในการสอนของกลุ่มดิฉัน ใช้ Video มาเป็นขั้นนำ โดยมีการเกริ่นนำเพื่อเข้าสู่วิดีโอโดยการใช้คำถามกับเด็กๆ จากนั้นเข้าสู่ขั้นสอนด้วยการทบทวนเรื่องของวิดีโอที่เด็กดู พร้อมทั้งนำรูปภาพมาให้เด็กดูและใช้คำถามกับเด็กและขั้นสรุป โดยการร่วมกันสรุปเรื่องการดำรงชีวิตของกบให้กับเด็ก


คำแนะนำหลังการสอน (Advise after teaching)

      อาจารย์แนะนำว่า การเริ่มต้นขั้นนำด้วยการใช้วิดีโอในการสอนได้ดี แต่หลังจากดูวิดีโอเสร็จการทบทวนเรื่องต่างๆในวิดีโอ ควรมีการบันทึกคำตอบที่เด็กตอบลงกระดาษ ถ้ามีคำศัพย์ที่ยากหรือเด็กยังไม่ได้ยินครูควรพูด แล้วให้เด็กพูดตาม เช่น วงจรชีวิต สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และควรตั้งคำถามให้เยอะขึ้นจากเดิมเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์เดิม หรือสิ่งที่เด็กได้เห็นมา
      
Teaching Methods

       อาจารย์ให้เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิด การสืบค้นหาความรู้ด้วยตนเอง และการลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ได้เห็นข้อผิดพลาด และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำโดยการเสนอวิธีการสอนแบบต่างๆ

Application 

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาเทคนิคการสอนของเพื่อนๆไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตได้ และสามารถนำเอาคำแนะนำต่างๆที่อาจารย์ให้ไปปรับใช้ในการทำงานในภายภาคหน้าได้

Assessment

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา และก็มีการเตรียมการนำเสนอการสอนของกลุ่มมาเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือขณะที่เพื่อนสอน

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และมีการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะมีบางกลุ่มที่ไม่เข้าใจจึงทำให้เตรียมการสอนมาผิด

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และอาจารย์ก้ให้คำแแนะนำหลังจากการนำเสนอการสอนเป็นอย่างดี พร้อมทั้งยกตัวอย่างการสอนในหลายหลายเทคนิค
       

The Secret of Air

The Secret of Air

      อากาศอยู่รอบๆตัวเราในทุกๆที่ และเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น ไม่มีขนาด รูปร่าง และไม่สามารถจับต้องได้ อากาศต้องการที่อยู่ แต่ถ้ามีวัตถุอื่นมาแทนที่อากาศก็จะเคลื่อนที่ออกไป อากาศมีทั้งร้อนและเย็นและมีน้ำหนักเหมือนวัตถุอื่น อากาศร้อนจะเบากว่าอากาศเย็น และมนุษย์นำเอาหลักการของอากาศไปใช้ในการทำบอลลูนให้ลอยขึ้น เพราะเมื่ออากาศร้อนจะทำให้บอลลูนลอยขึ้น
      อากาศจะทำให้เกิดลม เพราะลมก็คืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ บนโลกของเราจะมีลมเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละพื้นที่จะร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหน ลมสามารถเปลี่ยนไปตามทิศทางของวัคถุที่มากีดขวาง
      มนุษย์นำเอาหลักการของแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การดูดหลอด การผลิตเครื่องบิน และในอากาศร้อนมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ แรงต้านของอากาศจะเกิดขึ้นเมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ และมนุษย์นำเอาหลักการเรื่องแรงต้านทานมาใช้ในการกระโดดร่มให้ถึงพื่นช้า
      อากาศจึงมีความสำคัญต่อเรามาก นอกจากที่จะใช้หายใจแล้วอากาศยังทำให้เกิดลม และมนุษย์เราใช้คุณสมบัติของอากาศมาสร้างสิ่งประดิษฐ์มากมาย



Notes the twelfth times

Notes the twelfth times

Date 30 October 2014

Knowledge

Activities in classroom

     วันนี้อาจารย์เริ่มต้นการสอนจากการพูดถึงกรอบมาตรฐานสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แล้วจากกนั้นอาจารย์ก็นำเข้าสู่การทดลอง

การทดลองที่ 1

      ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆ จากนั้นเมื่อเอาไปโยนลงน้ำแล้วมันตกลงน้ำ แต่หากทำเป็นรูปแอ่งคล้ายถ้วย ทำให้ดินน้ำมันมีมวลเบากว่าน้ำ ดินน้ำมันจึงลอย


การทดลองที่ 2

      นำกระดาษมาพับ 2 รอบ จากนั้นวาดรูปดอกไม้แล้วตัดออก เมื่อเสร็จแล้วพับมุมดอกไม้เข้าทุกด้าน แล้วเอาไปลอยน้ำ ผ่านไปซักพักกลีบดอกไม้จะค่อยๆคลายออก ถ้าใช้กระดาษ A4 กลีบจะคลายไวกว่ากระดาษร้อยปอนด์ และสีที่เราระบายบนดอกไม้ก็จะค่อยๆไหลลงน้ำ เพราะว่าน้ำซึมเข้าไปในเยื่อกระดาษ (เราจึงควรมีกระดาษหลายๆแบบ) กระดาษซึมซับน้ำช้า / เร็ว ต่างกัน
      *การทดลองนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงกับหน่วยน้ำ หน่วยต้นไม้ (การดูดซึม)


การทดลองที่ 3 

      เทน้ำใส่ขวดแล้วเจาะรู 3 รู แล้วทายว่ารูไหนจะไหนเร็วที่สุด คำตอบคือรูสุดท้ายไหลเร็วที่สุด เพราะแรงดันอากาศจากฝาขวดดันออกมาให้น้ำไหลออก แต่การเล่นแบบนี้ยากเกินไป สามารถให้เด็กเล่นได้โดยเป็นการเก็บข้อมูล และประสบการณ์


การทดลองที่ 4

      นำน้ำใส่ขวดที่มีสายยางต่อไปอีกที่หนึ่ง ถ้าวางเท่ากันน้ำก็จะไม่ไหลไปไหน แต่ถ้าวางขวดน้ำสูงน้ำก็จะไหลลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ


การทดลองที่ 5

      จุดเทียนแล้วเอาแก้วครอบ จากนั้นเทียนดับ



การทดลองที่ 6 

      จุดเทียน จากนั้นเทน้ำใส่รอบๆเทียน แล้วเอาแก้วครอบ ปรากฎว่าเทียนค่อยๆดับและน้ำที่อยู่รอบเทียนเข้าไปอยู่ในแก้ว


การทดลองที่ 7

      นำปากกาใส่ในแก้วที่มีน้ำ
- มองด้วยตาเหมือนปากกาหักเเพราะการหักเหของเสียงทำให้มีรอยตัดตรงขอบน้ำเลยเหมือนปากกาหัก
- มองด้วยตาเหมือนปากกาใหญ่ขึ้น เพราะคุณสมบัติของน้ำเหมือนแว่นขยาย


Teaching Methods

       อาจารย์ใช้เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เราคิด และได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เกิดความเข้าใจ และ

Application

       จากการเรียนในวันนี้สามารถนำการทดลองต่างๆที่อาจารย์สอนไปใช้ในการสอนในอนาคตได้ เช่น การทดลองที่ 2 โดยให้เด็กทำดอกไม้ของต้นเองคนละ 1 ดอก จากนั้นก็นำไปลอยน้ำ และยังสามารถนำการทดลองนี้ไปบูรณาการกับการสอนหน่วยอื่นๆ เช่น หน่วยต้นไม้ เรื่องการดูดซึม เป็นต้น

Assessment

      Me - วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองต่างๆ ลองทำทุกการทดลองและจดบันทึกผลการทดลองทุกครั้ง

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทดลองทุกครั้ง แต่ยังมีคุยกันเสียงดังบ้าง

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ทดลองเพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคตต่อไป




Notes the eleventh times

Notes the eleventh times

Dates 23 October 2014

-----------------------------------------

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องในวันปิยะมหาราช



Notes the tenth times

Notes the tenth times

Date 18 October 2014


Knowledge

วันนี้เป็นการเรียนชดเชยของวันที่ 23 ตุลาคม 2557 (วันปิยะมหาราช)
เนื่องจากดิฉันไม่สบาย จึงไม่ได้มาเรียนในวันนั้น
แต่ดิฉันได้สรุปเนื้อหาของเพื่อนๆที่มาเรียนจากบล๊อกของนางสาวฐิติมา บำรุงกิจ

--------------------------------

      วันนี้อาจารย์พูดถึงการเขียนแผนและการทำ Mind mapping ของแต่ละกลุ่มว่าควรแก้ไขอย่างไร ต้องเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนส่วยใดบ้าง โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มช่วยกันระดมสมอง (Brain Storming) โดยรายละเอียดในแผนการสอนจะต้องตรงกับเนื้อหาสาระที่เด็กสนใจ และควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และที่สำคัญแผนการสอนจะต้องบูรณาการไปยังรายวิชาอื่นด้วย เช่น คณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวน เป็นต้น


วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Notes the ninth times

Notes the ninth times

Date 16 October 2014

Knowledge

Activities in classroom

     วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆทุกคน Present ของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยมีทั้งหมดดังนี้
  1. ลูกข่าง
  2. ไก่กระต๊าก
  3. ขวดผิวปาก
  4. กระป๋องโยกเยก
  5. กังหันลม
  6. หลอดปั้มน้ำ
  7. ไหมพรมเต้นระบำ
  8. กล้องส่องทางไกล
  9. กลองลูกโป่ง
  10. หลอดหมุนได้
  11. ตุ๊กตาล้มลุก
  12. เรือลอยน้ำ
  13. วงกลมหรรษา
  14. รถพลังลม
  15. ลูกข่าง
  16. ลูกข่างหรรษา
  17. นาฬิกาน้ำ
  18. เสียงโพล๊ะ
  19. ปืนลูกโป่ง
  20. หนูน้อยกระโดดร่ม
  21. ขวดหนังสติ๊ก
  22. คลื่นทะเลในขวด
  23. เหวี่ยงมหาสนุก
  24. แท่นยิงลูกบอลจากไม้ไอติม
  25. เครื่องร่อนวงแหวน
  26. รถแข่ง
  27. หลอดเสียงสูงต่ำ
  28. โทรศัพท์
  29. น้ำเปลี่ยนสี
  30. หนังสติ๊กหรรษา
  31. แม่เหล็กตบตา
  32. เชียร์หลีดเดอร์
  33. นักดำน้ำ
  34. รางหรรษา
  35. ปิ้งป่อง
  36. กระป๋องบูมเมอแรง
  37. แมงปอ
  38. กบกระโดด
  39. แก้วส่งเสียง
  40. เป่าให้ลอย
  41. หนังสติ๊กไม้ไอติม
  42. แมงกระพุน
  43. มหัศจรรย์ฝาหมุน
  44. แก้วกระโดด
  45. กังหันไฟฟ้าสถิต
      สิ่งประดิษฐ์ของดิฉันคือ หนังสติ๊กไม้ไอติม


หลักการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific principles)

     เมื่อดีดไม้ไอติมแล้วไม้ไอติมลอยขึ้นไป เพราะเมื่อดึงก็จะเกิดพลังงานศักที่สะสมในหนังยาง แล้วเมื่อปล่อยก็จะเกิดเป็นพลังงานจล และที่ลูกยางค่อยๆหมุนลงมาเพราะเกิดจากแรงต้านทางของปีกลูกดอก ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องบิน

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

      การสืบค้นข้อมูลความรู้ด้วยตนเอง และการเชื่อมโยงความรู้หลักการทางวิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นวิทยาศาสตร์สู่การเรียนการสอน ทั้งยังสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ การนำวัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่มาใช้ให้ประโยชน์

การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

      จากการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ในวันนี้ทำให้ได้เห็นของเล่นที่แปลกใหม่ และบางอย่างทำได้ง่ายๆ เด็กสามารถทำได้ แต่บางอยากครูต้องเป็นคนทำเพื่อนำไปใส่ไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน 

การประเมิน (Assessment)

       Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมของเล่นมาเป็นอย่างดี และตั้งใจดูของเล่นของเพื่อนๆ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้

      Friend - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา และมีการเตรียมของเล่นวิทยาศาสตร์ของตนเองมาเป็นอย่างดี

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และให้คำแนะนำในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน ว่าเหมาะที่จะใช้ในช่วงเวลาใด


Notes the eigth times

Notes the eigth times

Date 9 October 2014



วันนี้ไม่มีการเรียนสอน เนื่องจากมีการสอบกลางของมหาวิทยาลัย

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Science Toy

Science Toy

ไม้ไอติมหนังสติ๊ก (Ice cream sricks)

อุปกรณ์ (Equipment)
  • ไม้ไอศกรีม (Ice cream sticks)
  • หนังยาง (Rubber)
  • คัตเตอร์ (Cutter)
  • กรรไกร (Scissors)
  • ไม้บรรทัด (Ruler)
  • กาว (Glue)


ขั้นตอนการทำ (Steps)
  1. นำหนังยางมามัดไม้ไอติมให้เป็นรูปตัว Y หรือหนังสติ๊ก

  2. นำหนังยาง 3 เส้นมาร้อยต่อกัน และรัดที่ปลายทั้ง 2 ข้าง ก็จะได้ไม้หนังสติ๊ก
  3. ตัดไม้ไอติมเป็น 2 ชิ้นเท่าๆกัน แล้วใช้คัตเตอร์ตัดตรงปลายเพื่อทำเป็นที่เกี่ยว
  4. นำกระดาษมาตัดเป็นกลีบคล้ายกลีบดอกไม้ ลูกยาง 1 ลูกใช้ 2 กลีบ 
  5. นำกลีบที่ตัดแล้วมาติดบนไม้ไอติมที่เตรียมไว้ แล้วม้วนกลีบโค้ง จากนั้นใช้หนังยางรัดตรงปลายเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนัก



วิธีการเล่น (How to play)
  • นำเอาส่วนที่เป็นตะขอเกี่ยวกับหนังสติ๊กและยิ่งขึ้นฟ้า ลูกยางก็จะค่อยๆหมุนลงมาอย่างสวยงาม


หลักการทางวิทยาศาสตร์ 

      เมื่อดีดไม้ไอติมแล้วไม้ไอติมลอยขึ้นไป เพราะเมื่อดึงก็จะเกิดพลังงานศักที่สะสมในหนังยาง แล้วเมือปล่อยก็จะเกิดเป็นพลังงานจล และที่ลูกยางค่อยๆหมุนลงมาเพราะเกิดจากการแรงต้านทานของปีกลูกดอก ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับเครื่องบิน






วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

์Notes the seventh times

Notes the seventh times

Date 2 October 2014

Knowledge

Activity in classroom

      วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำแกนกระดาษทิชชูมาคนละ 1 อัน โดยมีอุปกรณ์เพิ่มเติมดังนี้


- กรรไกร (scissors)
- กาว (glue)
- กระดาษ (paper)
- สี
- ดินสอ (pencil)
- ตาไก่เจาะกระดาษ
- ไหมพรม

      ขั้นตอน

  1. ตัดแกนกระดาษทิชชูออกเป็นสองท่อน
  2. เจาะรูของแกนกระดาษทิชชู ดังรูป   

  3.  วาดรูปบนกระดาษที่ัตัดเป็นรุปวงกลม จากนั้นติดลงบนแกนกระดาษทิชชู
  4. จากนั้นใช้ไหนพรมรูที่เจาะไว้ 
วิธีเล่น






การนำสนอบทความครั้งที่ 4

  • สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่ - เริ่มจากการเล่านิทานแล้วสังเกตลูกเจี๊บลูกไก่ จากนั้นสืบค้น แล้วพาเด็กไปดูฟาร์มเป็ดฟาร์มไก่ เล่าประสบการณ์ความเหมือนความต่างของไก่และเป็ด แล้วเล่านิทานเรื่อง หนุไก่คนเก่ง สอนเรื่องการช่วยเหลือตนเอง จากนั้นให้เด็กนำเสนอผลงาน
  • จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ สนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์ - กระตุ้นให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้
  • การส่งเสริมกระบวนการคิด - เด็กวัยนี้มักแอบทดลองสังเกตสิ่งต่างๆ บางครั้งการสำรวจของเด็กอาจจะไม่เหมาะสม จึงทำให้ผู้ใหญ่ละเลยและไม่สนใจ พ่อแม่ควรต้องสนุบสนุน ถามลูก ชวนลูกเล่น การสอนวิทยาศาสตร์กับเด็ก ไม่ใช่การเรียนแยกส่วน แต่เป็นการเรียนแบบบูรณาการ
  • สอนลูกเรื่องปรากฎการณืธรรมชาติ - ฝนตก ฟ้าร้อง โลกร้อน เด็กเรียนรู้ในหน่วยจะได้รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของโลก เด็กจะได้ใช้ทักษะการตั้งคำถาม การสังเกต
  • การสอนลูกเรื่องอากาศ - จัดกิจกรรมให้เด็กได้รู้ส่วนผสมของอากาศ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น เด็กจะเกิดคำถาม เราจึงต้องตอบสนองความต้องการของเด็ก เพราะเขาจะสังเกตว่ามีสิ่งหนึ่งผ่านเข้ามาทางจมูก โดยจัดกิจกรรมผ่านกิจกรรมประจำวัน


เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

      อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เราได้คิดวิเคราะห์ 
และยังเป็นการทบทวนเนื้อหาเรียนมาแล้ว

การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์สอน ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ เพราะไม่ยากจนเกินไป

การประเมิน (Assessment)

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เตรียมอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์มอบหมาย ตั้งใจประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อาความรู้

     Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้คำแนะำการนำเสนอบทความของเพื่อนๆ


วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Notes the sixth time

Notes the sixth time

Date 25 September 2014

Knowledge

Activity in classroom

      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้แล้วให้ตัดแบ่งกันตามขั้นตอนดังต่อไปนี้


  1. ตัดกระดาษเป็นแนวยาวดังรูป
  2. พับครึึ่ง
  3. ตัดกระดาษออกครึ่งหนึ่ง (เพียงด้านเดียว) ดังรูป
  4. พับปลายกระดาษด้านที่ไม่ได้ตัดขึ้นมาเล็กน้อย
  5. ใช้คลิปหนีบปลายกระดาษส่วนที่พับขึ้นมา
จากนั้นทำการทดลอง จะได้ดังนี้


      สิ่งที่ประดิษฐ์ชิ้นนี้เรียนกว่า ลูกยายกระดาษ ซึ่งเกิดจากแรงต้านทาน (Resistance) และนำไปสู่การทำเครื่องบิน ถ้าตัดกระดาษเข้าไปน้อย มันก็จะไม่หมุน

      จากกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory) สอดคล้องกับวิธีการ (Implement) และพัฒนาการ (Development) ของเด็ก โดยเชื่อมโยงกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) 

การนำเสนอบทความครั้งที่ 3

  • แสงสีกับชีวิตประจำวัน - แสงในโลกเกิดจาก 3 สี ได้แก่ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน มากระทบกับดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดแสงให้ตาเรามองเห็น เช่น ใบไม้สดที่มองเห็นสีเขียวเพราะมีสารคลอโรฟิลด์ จึงสะท้อนสีเขยวออกมาให้เรามองเห็น
  • เงามหัศจรรย์ต่อสมอง (ดร. วรนาท รักษ์สกุลไทย) - เงาเกี่ยวของกับการทำงานของแสง เด็กจะกลัวเงาโดยจินตนาการจากผีหรือสัตว์ประหลาด พ่อแม่มีหน้าที่พาเด็กออกไปทดลอง เช่น การวัดขนาของเงา เล่านิทานเงา เมื่อเด็กได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นจากความรู้เดิม เด็กก็จะเชื่อมโยงและสร้างองค์ความรู้ใหม่
  • สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - หลักสูตรให้ความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เด็กรักษ์ธรรมชาติ เรื่องใกล้ตัว เช่น การประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ
  • การทดลองวิทยาศาสตร์ (Science Experiment) - จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงโดยให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science Skills) ดังนี้
  1. ทักษะการสังเกต (Observation Skills)
  2. ทักษะการวัด (Measurement Skills)
  3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification Skills)
  4. ทักษะการสื่อสาร (Communication Skills)
  5. ทักษะการลงความเห็น (Opinion Skills)
  6. ทักษะการพยากรณ์ (Forecast Skills)
          ประโยชน์จากการทดลอง - ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีกระบวนการ

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

      อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เราได้คิดวิเคราะห์ ทั้งยังเป็นการทบทวนเนื้อหาที่เรียนผ่านมาแล้ว เพราะจะทำให้เราได้รุ้ว่าเราเข้าใจเนื้อหานั้นอย่างแท้จริงหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆ ที่เด็กสามารถทำได้ และได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

การประเมิน (Assessment)

      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ ทั้งยังร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์บางครั้งก็ถูก บางครั้งก็ผิด

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ และร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม

      Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์  และให้คำแนะนำในการนำเสนอบทความของเพื่อนๆแต่ละคน


วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

The secret of Light

The Secret of Light


ความลับของแสง

      แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเดินทาง 300,000 กม./วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ 
      การเดินทางของแสง - แสงดินทางเป็นเส้นตรงไม่เปลี่ยนทิศทาง แสงไม่เดินทางผ่านวัตถุทึบแสง แต่แสงจะเดินทางผ่านวัตถุโปร่ง แสงทะลุผ่านแค่บางส่วน เช่น กระจกฝ้า วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านไปได้หมด เช่น กระจกใส
     การสะท้อนแสง - เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องพุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสง เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว แล่วสะท้อนกลับมาจะเป็นที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องมาเสมอ
      การหักเหของแสง - แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางต่างกัน แล้วจะหักเหเข้าหาแนวตั้งฉากกับผิวน้ำเรียกว่า เส้นปกติ ถ้าฉายแสงตรงๆ แสงก็จะเดินทางเป็รเส้นตรง เช่น เวลามองเหรียญในน้ำเหมือนเหรียญลอย เพราะการหักเหของแสง การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นแสงสีแล้ว ยังทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำ เพราะรุ้งกินน้ำจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เวลาฝนตกใหม่ โดยปกติแล้วสีรุ้งกินน้ำทั้ง 7 เป็นสีขาว แต่เมื่อวัตถุดูดแสงมาไว้แล้วแสดงของตัวมันเองให้ตาเรามองเห็น



Notes the fifth time

Notes the fifth time

Date 18 September 2014



Knowledge

Activity in classroom

      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ A4 จากนั้นให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน เมื่อได้แล้วก็ให้พับครึ่งจากนั้นก็ให้แต่ละคนวาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันโดยของดิฉัน ด้านหนึ่งวาดแก้วน้ำ ส่วนอีกด้านหนึ่งวาดขวดน้ำกำลังริน จากนั้นก็ทำการติดกระดาษกับไม้ดังภาพ เมื่อเสร็จเรียบร้อยถ้าหมุนเร็วๆจะเห็นภาพทั้งสองด้านซ้อนกัน เหมือนอยุ้ในภาพเดียวกัน






ซึ่งจากการทำกิจกรรมนี้เป็นการช่วยส่งเสริมเด็กในด้านต่างๆดังนี้


  • ด้านร่างกาย - เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการวาดภาพ ระบายสี การหมุน
  • ด้านอารมณ์ - เมื่อเด็กเล่นแล้วเดิกความสนุกสนาน
  • ด้านสัมคม - เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ได้พูดคุยกับเพื่อน
  • ด้านสติปัญญญา - เด็กได้คิดวางแผนในการวาดภาพให้ตรงกันที่ง 2 ด้าน และได้ใช้จินตนาการในการวาดภาพ
การนำเสนอบทความครั้งที่ 2

  • เด็กๆอบุบาลสนุกกับ STEM ศึกษาปฐมวัย (สสวท.) - เป็นการสอนแบบบูรณาการ วิทยาศาสตร์(Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรม(Engineer) และคณิตศาสตร์(Mathematics)
  • โลกของเราอยู่ได้อย่างไร - เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กๆเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตบนโลก และกระตุ้นเด็กว่า ต้องทำอย่างไรให้โลกของเราดำเนินต่อไป
  • บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ - ปลูกฝังความรัก เจตคติ และทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้โดยที่ไม่ถูกบังคับ เป็นการเรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัว และสอดแทรกตั้งแต่ยังเล็ก

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

       อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเป็นกระตุ้นให้เราได้คิดวิเคราะห์ และยังเป็นการทบทวนสื่งที่เรียนผ่านมาแล้ว เพราะจะทำให้เราได้รู้ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริงหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสอนเด็ก ให้เด็กได้ลงมือทำเองโดยจัดผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และใช้เทคนิคคำถามปลายเปิดถามเด็กๆ 

การประเมิน (Assessment)


      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อความรู้ ทั้งยังร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม แต่บางทีก็ยังไม่เข้ใจประเด็นที่อาจารย์ถาม

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนเวลา ทำของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์

     Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ เพื่อที่จะให้การเรียนไม่น่าเบื่อ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึออนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 4 วันที่ 11 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ

      

      วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกมานำเสนอบทความวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย โดยวันนี้มีเพื่อนออกมานำเสนอทั้งหมด 4 คน ดังนี้
      1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย >>  ครูสอนเนื้อหามากกว่าให้เด็กได้เรียนรุ้ตามธรรมชาติ สสวท. จึงจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูจัดการเรียนรู้ เพราะทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญกว่าเนื้อหา
      2. 5แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล >> แนวการสอนที่ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น ทำไม แล้วจากนั้นครูก็พาเด็กออกไปหาความรู้ร่วมกัน
      3. โครงการบ้านนักวิทยาศาตร์น้อย ประเทศไทย >> เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก และมีงานวิจัยวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้คิด สังเกต และวิเคราะห์
      4. การสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน >> จัดกิจกรรม หน่วยขยะ ของเล่นของใช้ การแยกขยะ เพื่อให้เด็กได้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
       
      ความหมายของวิทยาศาสตร์ >> การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนโดยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความจริง

     แนวคิดพื้นฐาน 
1. การเปลี่ยนแปลง (Changes) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง (Difference) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความแตกต่าง ยกเว้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. การปรับตัว (Adaptation) ทุกอย่างในโลกนี้ต้องมีการปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Dependence) 
5. ความสมมุล (Balance)
      
      การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

      เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น (Curious)
2. ความเพียรพยายาม (Effort)
3. ความมีเหตุผล (Rationality)
4. ความซื่อสัตย์ (Honesty)
5. ความมีระเบียบรอบคอบ (Cautious)
6. ความใจกว้าง (Generous)

      ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองความต้องการของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้างประสบการณ์
- ฯลฯ

      ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้
      
       จากการเรียนในวันนี้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์

      เพื่อน วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน มีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม

      อาจารย์ วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ขณะสอนอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด โดยให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ และทดสอบว่านักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างแท้จริง

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ การศึกษาแบบ STEM เพื่อการจัดการเรียนการสอน

สรุปบทความ

การศึกษาแบบ STEM การจัดการเรียนการสอน
โดย ผศ.ดร. วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ED.D Early Childhood Education
อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

      การพัฒนามนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งวิธีการพัฒนามนุษย์เพื่อให้มีทักษะที่ยั่งยืน เพื่อใช้ชีวิตในโลกอนาคตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี นั่นคือการพัฒนาการศึกษา แนวการศึกษาที่จะเหมาะสมกับโลกปัจจุบันและโลกอนาคตที่กำลังเป็นที่สนใจทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ และประเทศไทย คือการศึกษาแบบ STEM แนวการศึกษานี้เริ่มที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาวิธีสอนแบบบูรณาการในกลุ่ม วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมเข้าด้วยกัน และจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย
      
      STEM เป็นตัวย่อซึ่ง S คือ Science หรือวิทยาศาสตร์ T คือ Technology หรือเทคโนโลยี E คือ Engineer หรือวิศวกรรม และ M คือ Mathematics หรือคณิศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแบบ STEM เป็นการศึกษาที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสเรียนแบบบูรณาการและพัฒนาทักษะต่างๆในการทำงาน การศึกษา STEM เกี่ยวพันกับเด็กในยุคปัจจุบันเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เด็กตื่นมา เด็กก็พบแสงแดด ต้นไม้ ดอไม้ ท้องฟ้า การเรียนวิทยาศาสตร์จึงถือว่ามีความสำคัญกับชีวิตเด็ก ทำให้เด็กได้เข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวได้ง่ายขึ้น ถ้าเด็กได้เรียนสิ่งเหล่านี้อย่างสนุกสนาน ได้รู้ ได้ทดลอง ได้คิด สัมผัสวัสดุอุปกรณ์ ได้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตั้งแต่ยังเล็กจะทำให้เด็กชอบเรียนรู้ อยากทดลอง จะทำให้เด็กไม่กลัวที่จะเรียนวิชาเหล่านี้เมื่อวิชาเหล่านี้ยากขึ้น

      การเรียนวิทยาศาสตร์จึงไม่ต้องรอให้เด็กเรียนในชั้นประถมศึกษา เด็กควรมีโอกาสเรียนด้วยการศึกษาแบบ STEM ตั้งแต่อนุบาลเพื่อเด็กจะได้ฝึกคิดฝึกตั้งคำถาม ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในโลกโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการทดลองกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เรียนรู้ จากการลงมือกระทำ สัมผัส เด็กอนุบาลสามารถเรียนรู้จากกิจกรรม ในมุมประสาทสัมผัส การเททราย การเล่นน้ำ การตวง การวัด สำหรับเด็กอนุบาล สามารถสอน STEM ได้หลากหลายรูปแบบจากการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนเป็นหน่วยตามที่ครูจัดหรือเลือกหน่วยที่เด็กสนใจ
     
      การศึกษาแบบ STEM นับว่าเป็นนวัตกรรมการสอนแบบใหม่สำหับประเทศไทย และประเทศไทยมีแนวโน้มในการจัดการศึกษาแบบ STEM เพราะการศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาที่ช่วยพัฒนาคนในอนาคต ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำเป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ การทดลอง สืบค้น ใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นการพัฒนาเด็กให้ฝึกคิด มีความสามารถ สนุก และสนใจในวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มีความสนใจในการศึกษาพัฒนาและวิจัยการศึกษาแบบ STEM โดยใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษาะความเป็นมนุษย์และพัฒนาการศึกษาของชาติ