วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

The secret of Light

The Secret of Light


ความลับของแสง

      แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง ที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเดินทาง 300,000 กม./วินาที ถ้าวิ่งได้เร็วเท่าแสงจะวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบ 
      การเดินทางของแสง - แสงดินทางเป็นเส้นตรงไม่เปลี่ยนทิศทาง แสงไม่เดินทางผ่านวัตถุทึบแสง แต่แสงจะเดินทางผ่านวัตถุโปร่ง แสงทะลุผ่านแค่บางส่วน เช่น กระจกฝ้า วัตถุโปร่งใส แสงทะลุผ่านไปได้หมด เช่น กระจกใส
     การสะท้อนแสง - เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องพุ่งไปยังทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสง เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว แล่วสะท้อนกลับมาจะเป็นที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องมาเสมอ
      การหักเหของแสง - แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางต่างกัน แล้วจะหักเหเข้าหาแนวตั้งฉากกับผิวน้ำเรียกว่า เส้นปกติ ถ้าฉายแสงตรงๆ แสงก็จะเดินทางเป็รเส้นตรง เช่น เวลามองเหรียญในน้ำเหมือนเหรียญลอย เพราะการหักเหของแสง การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นแสงสีแล้ว ยังทำให้เราเห็นรุ้งกินน้ำ เพราะรุ้งกินน้ำจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เวลาฝนตกใหม่ โดยปกติแล้วสีรุ้งกินน้ำทั้ง 7 เป็นสีขาว แต่เมื่อวัตถุดูดแสงมาไว้แล้วแสดงของตัวมันเองให้ตาเรามองเห็น



Notes the fifth time

Notes the fifth time

Date 18 September 2014



Knowledge

Activity in classroom

      วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ A4 จากนั้นให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน เมื่อได้แล้วก็ให้พับครึ่งจากนั้นก็ให้แต่ละคนวาดรูปที่มีความสัมพันธ์กันโดยของดิฉัน ด้านหนึ่งวาดแก้วน้ำ ส่วนอีกด้านหนึ่งวาดขวดน้ำกำลังริน จากนั้นก็ทำการติดกระดาษกับไม้ดังภาพ เมื่อเสร็จเรียบร้อยถ้าหมุนเร็วๆจะเห็นภาพทั้งสองด้านซ้อนกัน เหมือนอยุ้ในภาพเดียวกัน






ซึ่งจากการทำกิจกรรมนี้เป็นการช่วยส่งเสริมเด็กในด้านต่างๆดังนี้


  • ด้านร่างกาย - เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการวาดภาพ ระบายสี การหมุน
  • ด้านอารมณ์ - เมื่อเด็กเล่นแล้วเดิกความสนุกสนาน
  • ด้านสัมคม - เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ได้พูดคุยกับเพื่อน
  • ด้านสติปัญญญา - เด็กได้คิดวางแผนในการวาดภาพให้ตรงกันที่ง 2 ด้าน และได้ใช้จินตนาการในการวาดภาพ
การนำเสนอบทความครั้งที่ 2

  • เด็กๆอบุบาลสนุกกับ STEM ศึกษาปฐมวัย (สสวท.) - เป็นการสอนแบบบูรณาการ วิทยาศาสตร์(Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรม(Engineer) และคณิตศาสตร์(Mathematics)
  • โลกของเราอยู่ได้อย่างไร - เป็นการจัดกิจกรรมให้เด็กๆเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิตบนโลก และกระตุ้นเด็กว่า ต้องทำอย่างไรให้โลกของเราดำเนินต่อไป
  • บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ - ปลูกฝังความรัก เจตคติ และทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้โดยที่ไม่ถูกบังคับ เป็นการเรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัว และสอดแทรกตั้งแต่ยังเล็ก

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)

       อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด เพื่อเป็นกระตุ้นให้เราได้คิดวิเคราะห์ และยังเป็นการทบทวนสื่งที่เรียนผ่านมาแล้ว เพราะจะทำให้เราได้รู้ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริงหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้ (Application)

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำเอาของเล่นวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการสอนเด็ก ให้เด็กได้ลงมือทำเองโดยจัดผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และใช้เทคนิคคำถามปลายเปิดถามเด็กๆ 

การประเมิน (Assessment)


      Me - วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อความรู้ ทั้งยังร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม แต่บางทีก็ยังไม่เข้ใจประเด็นที่อาจารย์ถาม

      Friends - วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนเวลา ทำของเล่นวิทยาศาสตร์อย่างตั้งใจ และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆร่วมกับอาจารย์

     Teacher - วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษาได้ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ และอยากให้มีกิจกรรมแบบนี้บ่อยๆ เพื่อที่จะให้การเรียนไม่น่าเบื่อ



วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึออนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 4 วันที่ 11 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ

      

      วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกมานำเสนอบทความวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย โดยวันนี้มีเพื่อนออกมานำเสนอทั้งหมด 4 คน ดังนี้
      1. หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย >>  ครูสอนเนื้อหามากกว่าให้เด็กได้เรียนรุ้ตามธรรมชาติ สสวท. จึงจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางให้ครูจัดการเรียนรู้ เพราะทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญกว่าเนื้อหา
      2. 5แนวทางสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล >> แนวการสอนที่ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก เช่น ทำไม แล้วจากนั้นครูก็พาเด็กออกไปหาความรู้ร่วมกัน
      3. โครงการบ้านนักวิทยาศาตร์น้อย ประเทศไทย >> เพื่อพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ยังเล็ก และมีงานวิจัยวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้คิด สังเกต และวิเคราะห์
      4. การสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน >> จัดกิจกรรม หน่วยขยะ ของเล่นของใช้ การแยกขยะ เพื่อให้เด็กได้รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อม


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
       
      ความหมายของวิทยาศาสตร์ >> การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนโดยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความจริง

     แนวคิดพื้นฐาน 
1. การเปลี่ยนแปลง (Changes) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง (Difference) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความแตกต่าง ยกเว้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
3. การปรับตัว (Adaptation) ทุกอย่างในโลกนี้ต้องมีการปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Dependence) 
5. ความสมมุล (Balance)
      
      การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

      เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น (Curious)
2. ความเพียรพยายาม (Effort)
3. ความมีเหตุผล (Rationality)
4. ความซื่อสัตย์ (Honesty)
5. ความมีระเบียบรอบคอบ (Cautious)
6. ความใจกว้าง (Generous)

      ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองความต้องการของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้างประสบการณ์
- ฯลฯ

      ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฯลฯ

การนำไปประยุกต์ใช้
      
       จากการเรียนในวันนี้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรม และการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ ร่วมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์

      เพื่อน วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน มีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่อาจารย์ถาม

      อาจารย์ วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ขณะสอนอาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบคำถามปลายเปิด โดยให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นการทบทวนความรู้ และทดสอบว่านักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนอย่างแท้จริง

วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ การศึกษาแบบ STEM เพื่อการจัดการเรียนการสอน

สรุปบทความ

การศึกษาแบบ STEM การจัดการเรียนการสอน
โดย ผศ.ดร. วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ED.D Early Childhood Education
อาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)

      การพัฒนามนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งวิธีการพัฒนามนุษย์เพื่อให้มีทักษะที่ยั่งยืน เพื่อใช้ชีวิตในโลกอนาคตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี นั่นคือการพัฒนาการศึกษา แนวการศึกษาที่จะเหมาะสมกับโลกปัจจุบันและโลกอนาคตที่กำลังเป็นที่สนใจทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ และประเทศไทย คือการศึกษาแบบ STEM แนวการศึกษานี้เริ่มที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาวิธีสอนแบบบูรณาการในกลุ่ม วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมเข้าด้วยกัน และจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย
      
      STEM เป็นตัวย่อซึ่ง S คือ Science หรือวิทยาศาสตร์ T คือ Technology หรือเทคโนโลยี E คือ Engineer หรือวิศวกรรม และ M คือ Mathematics หรือคณิศาสตร์ ซึ่งการศึกษาแบบ STEM เป็นการศึกษาที่ทำให้เด็กได้มีโอกาสเรียนแบบบูรณาการและพัฒนาทักษะต่างๆในการทำงาน การศึกษา STEM เกี่ยวพันกับเด็กในยุคปัจจุบันเพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เด็กตื่นมา เด็กก็พบแสงแดด ต้นไม้ ดอไม้ ท้องฟ้า การเรียนวิทยาศาสตร์จึงถือว่ามีความสำคัญกับชีวิตเด็ก ทำให้เด็กได้เข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวได้ง่ายขึ้น ถ้าเด็กได้เรียนสิ่งเหล่านี้อย่างสนุกสนาน ได้รู้ ได้ทดลอง ได้คิด สัมผัสวัสดุอุปกรณ์ ได้แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตั้งแต่ยังเล็กจะทำให้เด็กชอบเรียนรู้ อยากทดลอง จะทำให้เด็กไม่กลัวที่จะเรียนวิชาเหล่านี้เมื่อวิชาเหล่านี้ยากขึ้น

      การเรียนวิทยาศาสตร์จึงไม่ต้องรอให้เด็กเรียนในชั้นประถมศึกษา เด็กควรมีโอกาสเรียนด้วยการศึกษาแบบ STEM ตั้งแต่อนุบาลเพื่อเด็กจะได้ฝึกคิดฝึกตั้งคำถาม ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในโลกโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากการทดลองกับสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก เรียนรู้ จากการลงมือกระทำ สัมผัส เด็กอนุบาลสามารถเรียนรู้จากกิจกรรม ในมุมประสาทสัมผัส การเททราย การเล่นน้ำ การตวง การวัด สำหรับเด็กอนุบาล สามารถสอน STEM ได้หลากหลายรูปแบบจากการบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนเป็นหน่วยตามที่ครูจัดหรือเลือกหน่วยที่เด็กสนใจ
     
      การศึกษาแบบ STEM นับว่าเป็นนวัตกรรมการสอนแบบใหม่สำหับประเทศไทย และประเทศไทยมีแนวโน้มในการจัดการศึกษาแบบ STEM เพราะการศึกษาแบบนี้เป็นการศึกษาที่ช่วยพัฒนาคนในอนาคต ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำเป็นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ การทดลอง สืบค้น ใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นการพัฒนาเด็กให้ฝึกคิด มีความสามารถ สนุก และสนใจในวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ยังเล็ก และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) มีความสนใจในการศึกษาพัฒนาและวิจัยการศึกษาแบบ STEM โดยใช้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษาะความเป็นมนุษย์และพัฒนาการศึกษาของชาติ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กันยายน 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ




          รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  • พัฒนาการ หมายถึง พฤติกรรมที่เปลี่นแปลงไปตามลำดับขั้นตอน อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 4 ด้านดังนี้
- พัฒนาการด้านร่างกาย ได้แก่ -- การเคลื่อนไหว (ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
                                                 -- สุขภาพอนามัย
- พัฒนาการด้านอารมณ์ ไดแก่ -- การแสดงออก
                                                 -- การรับรู้
- พัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ -- การช่วยเหลือตนเอง
                                              -- การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- พัฒนาการด้านสติปัญญา ได้แก่ -- ภาษา
                                                     -- การคิด แบ่งเป็น การคิดเชิงสร้างสรรค์
                                                                                   การคิดเชิงเหตุผล (วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์)


  • เครื่องมือและวิธีการ -- เครื่องมือคือประสาทสัมผัสทั้ง 5
                                          -- การเล่นเป็นวิธีการที่มำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  • ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย -- มาจากคุณลักษณะและพัฒนาการ เช่น การอยากรุ้อยากเห็น ชอบทดลอง
  • ทฤษฎีการเรียนรู้
- พาฟลอฟ -- การวางเงื่อนไข
- วัตสัน -- ความรู้สึกบางอย่างมีมาแต่กำเนิด เช่น ความรัก ความกลัว ความโกรธ
- ดิวอี้ -- เรียนรู้โดยการกระทำ Learning by doing
- สกินเนอร์ -- การเสริมแรง การได้คำรับชม
- เปสตาลอซซี่ -- ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็ก ยอมรับความแตกต่างด้านพัฒนาการของ                             เด็ก
- เฟรอเบล -- การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก
- เอลคายน์ -- เด็กควรมีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง ครุมีหน้าที่อำนวยความสะดวก

  • การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรุ้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรุ้แบบองค์รวม มีครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน

การนำไปประยุกต์ใช้

      จากการเรียนในวันนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก

การประเมินหลังการเรียน

      ตนเอง วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาความรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ และทำงานที่อาจารย์มอบหมาย

      เพื่อน วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหาที่เรียน มีการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่อาจารย์ถาม และทำงานที่อาจารย์มอบหมายอย่างตั้งใจ

      อาจารย์ วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ขณะสอนอาจารย์ใช้การแบบการใช้คำถาม โดยให้นักศึกษาทุกคนได้ร่วมกันคิดและแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์ และท้ายคาบอาจารย์ยังให้นักศึกษาทุกคนทำ Mind mapping เพื่อเป็นการประมวลความรู้ที่ได้เรียนไป สุดท้ายอาจารย์เปิด Blog ของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อบอกข้อบกพร่องและให้นำไปปรับปรุงแก้ไข

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 สิงหาคม 2557
เวลาเข้าสอน 08.30 น. เวลาเข้าเรียน 08.30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


เนื่องจากดิฉันไปดำเนินการเรื่อง กยศ. จึงไม่ได้เข้าเรียน และได้สรุปเนื้อหาความรู้ที่อาจารย์สอนจาก Blog ของนางสาวธิดารัตน์ สุทธิพล

ความรู้ที่ได้รับ
  • เด็กปฐมวัย
          - พัฒนาการ
          - การเรียนรู้
          - การอบรมเลี้ยงดู
  • พัฒนาการด้านสติปัญญาแบ่งได้ 2 ด้านดังนี้
          - การคิด ได้แก่ -- ความคิดเชิงเหตุผล คือ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
                                   -- ความคิดเชิงสร้างสรรค์
          - ภาษา
  • พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และภาษา พัฒนาการสามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  • วิธีที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น
  การเล่น คือ การที่เด็กลงมือทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง
  • การจัดการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมให้สอกคล้องกับการเรียนรู้
  วิทยาศาสตร์ คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ความพยายามติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆจะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กไดคิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น 
  สรุป วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งต่างๆรอบตัว
  • หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก
- จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก
- ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก
- ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
      สามารถความรู้ี่ได้ับไปประยุกต์ใช้การเลือกจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการของเด็ก และหากประกอบวิชาชีพครูในอนาคตจะไม่ละเลยคำถาม และความสนใจของเด็ก

การประเมินหลังเรียน 
      ตนเอง เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียน แต่ก็นำความรู้ จากเพื่อนมาสรุป
      เพื่อน -
      อาจารย์ -